การประกาศตัวแปรจะต้องมีการกำหนดชื่อให้กับตัวแปร เพื่อให้โปรแกรมทำงาน กฎการตั้งชื่อ ในภาษาซียังใช้กับชื่อต่าง ๆ ในโปรแกรมได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การกำหนดชื่อโปรแกรม ชื่อของตัวแปรต่าง ๆ เป็นต้น ในตัวอย่างที่ผ่านมาเราได้เห็นการตั้งชื่อตัวแปรและค่าคงที่มาบ้างแล้ว
การตั้งชื่อในภาษาซีมีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word) และคำมาตรฐานที่คอมไพล์เลอร์รู้จัก
2. จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร (A-Z,a-z) หรือเครื่องหมาย_ (Underscore) เท่านั้น
3. ตัวต่อไปต้องเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือเครื่องหมาย_
4. การตั้งชื่อจะต้องไม่มีช่องว่าง
5. ตัวอักษรตัวเล็กและตัวอักษรตัวใหญ่จะมีความหมายแตกต่างกัน
6. ยาวสูงสุด 31 ตัวอักษร
คำสงวนเป็นคำที่มีความหมายที่โปรแกรมรู้จัก โดยมีรูปแบบการใช้งานที่แน่นอน ส่วนคำมาตรฐานเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว โปรแกรมสามารถเรียกใช้งานได้เลย คำสงวนในภาษาซีได้แก่
คำสงวนใน C มาตรฐาน (ANSI Standard C) | |||
auto | double | int | struct |
คำสงวนที่มีเพิ่มใน Borland C | |||
asm | _cs | _ds | _es |
รูปแบบการใช้งาน
type variable;
type หมายถึงชนิดข้อมูลของตัวแปร
variable หมายถึงชื่อของตัวแปร
ในการประกาศตัวแปร สามารถประกาศครั้งละหลายตัวได้ ถ้าหากเป็นตัวแปรประเภทเดียวกันจะใช้เครื่องหมาย , คั่น ตัวอย่างเช่น ถ้าหากจะประกาศตัวแปรชื่อ Data1 และ Data2 สำหรับเก็บจำนวนเต็มสามารถทำได้ดังนี้
int Data1, Data2;
- ตัวแปรใช้เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (integer)
ตัวอย่าง
#include
int main (void){
int num1;
num1=5;
printf("Number is :%d",num1);
system("pause");
}
- ตัวแปรใช้เก็บข้อมูลชนิดจำนวนจริง (Float,double)
ตัวอย่าง
#include
int main (void){
float num2;
num2=10.50;
printf("Number is :%.2f",num2);
system("pause");
}
#include
int main (void){
double num3;
num3=10.50;
printf("Number is :%.2lf",num3);
system("pause");
}
- ตัวแปรใช้เก็บข้อมูลชนิดอักขระ (charecter)
ตัวอย่าง
#include
int main (void){
char A;
A='y';
printf("A is :%c",A);
system("pause");
}
- ตัวแปรใช้เก็บข้อมูลชนิดสายอักขระ (string หรือ char[])
ตัวอย่าง
#include
int main (void){
char name[20];
printf("Enter your name : ");
scanf("Your name is :%s",name);
system("pause");
}
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น